บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อแนะนำ สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุ CB จะต้องรู้

สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุซีบีจะต้องรู้

1. เมื่อซื้อวิทยุซีบีแล้ว จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาต” ค่าใบอนุญาตเครื่องละ 500 บาท ใช้ได้ตลอดอายุของเครื่อง หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน

2. หากต้องการตั้งเสาสูง ติดสายอากาศเพื่อให้ส่งได้ไกลหรือติดสายอากาศรถยนต์ จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาตตั้งสถานี” ค่าใบอนุญาต 1,000 บาท ต่อ1 บ้าน หรือ รถ 1 คัน ใช้ได้จนกว่าจะเปลี่ยนรถหรือย้ายบ้าน ซึ่งต้องขออนุญาตใหม่ หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนบ้านและแผนที่บ้านคร่าวๆ ถ้าชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนรถไม่ใช่ของผู้ขอ ต้องมีใบยินยอมจากผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของ

3. ห้ามใช้เครื่องขยายกำลังส่ง หรือ เพิ่มกำลังส่ง หรือ “บูสเตอร์” เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดการรบกวนอย่างแรง เพราะมีการซอยออกเป็น 80 ช่อง โดยขนาดของช่องเล็กมาก หากใช้กำลังส่งสูงเกินไปจะทะลุข้ามช่อง

4. ห้ามใช้การรับส่งต่างความถี่ (Duplex) และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณ (Repeater)

5. ทางราชการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุซีบี 78 และ 245 MHz เพื่อความสะดวกของประชาชนทั่วไป โดยจัดระดับความสำคัญไว้เป็นอันดับสอง ดังนั้น

5.1 รัฐไม่คุ้มครองการรบกวน หมายความว่าหากมีปัญหาในการใช้งานหรือเกิดการรบกวนในความถี่ ประชาชนจะต้องดำเนินการหาวิธีแก้ไขเอง แต่ถ้าการใช้วิทยุซีบีก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายงานอื่น รัฐมีสิทธิ์สั่งให้แก้ไขการรบกวนนั้น ถ้าแก้ไขไม่ได้รัฐมีสิทธิ์สั่งยกเลิกการอนุญาตให้ใช้วิทยุซีบี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้วิทยุสื่อสารซีบีทุกคน จะต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยทำตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด ต้องช่วยกันระมัดระวังในการใช้ความถี่ เพื่อให้ความถี่นี้อยู่ให้เราได้ใช้นานๆ และให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน

5.2 ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆ กันในการใช้งานทุกช่องความถี่ ไม่มีใครมีสิทธิ์ยึดช่องใดช่องหนึ่งเป็นของตัวเอง ไม่ว่าเราเป็นใคร ใหญ่โตขนาดไหน ก็ไม่มีสิทธิ์ไล่ผู้ที่เข้ามาใช้ความถี่ร่วมในช่องนั้น ดังนั้น ทุกคนจะต้องใช้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งกันใช้ หากความถี่ไม่ว่าง ให้รอหรือเปลี่ยนใช้ช่องอื่นที่ว่าง หรือหากในช่องนั้นกำลังมีการประสานงานอยู่ ก็ไม่ควรเข้าไปขัดจังหวะ

5.3 ความถี่นี้ทางราชการไม่ได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน เพียงแต่อนุญาตให้ใช้ในขณะนี้ หากมีความจำเป็นทางราชการอาจะเรียกคืน เพื่อจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็น ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ หรือเรียกร้องขอค่าชดเชยความเสียหายจากอุปกรณ์ที่ได้ลงทุนไป

6. การทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสารมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุก 5 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

7. การใช้ช่องย่อย (DTMF CTCSS DTS ฯลฯ) เพื่อติดต่อเฉพาะกลุ่มนั้น ไม่ใช่เป็นการเก็บความลับ กลุ่มผู้ใช้ที่เข้ารหัสช่องย่อยนั้นจะไม่ได้ยินคนอื่น เหมือนกับการปิดหูตัวเองไว้ เปิดช่องให้ฟังเฉพาะพวกเดียวกัน แต่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารหัสช่องย่อยไว้ก็จะสามารถได้ยินทุกคนที่ใช้ความถี่นั้น รวมทั้งได้ยินผู้ที่ใช้ช่องย่อยด้วย

หากมีการใช้ช่องย่อยในความถี่ใด ก็จะรบกวนผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ช่องย่อยโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าทุกคนในความถี่ช่องนั้นใช้ช่องย่อยทั้งหมด จะไม่เกิดการรบกวนกันเลย ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดช่วงความถี่เพื่อการใช้ช่องย่อยโดยเฉพาะ

ข้อแนะนำการใช้วิทยุสื่อสาร สำหรับประชาชน

กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรความถี่ 245 MHz ให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้โดยอิสระ ไม่ต้องสอบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และอนุญาตให้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อโดยการตั้งสถานีได้ (ตั้งเสาสูง) ทำให้ประชาชนสนใจเข้ามาใช้ความถี่นี้เป็นจำนวนมาก ทั้งการใช้งานอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม งานธุรกิจ และประสานงานทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีการใช้โทน โค้ดสเควลช์ CTCSS DTS ในการแบ่งช่องย่อย ในขณะเดียวกัน ประชาชนผู้ใช้งานส่วนมากไม่มีความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสารเลย ไม่ว่าในด้านช่างหรือการแบ่งปันการใช้งาน บางครั้งเกิดปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้งานร่วมกัน

ในอเมริกา ความถี่ 27 MHz เป็นความถี่ที่จัดสรรให้กับกิจการวิทยุซีบี โดยให้ใช้เครื่องที่มี 40 ช่อง ความถี่ 26.965-27.405 MHz สำหรับใช้สื่อสารส่วนตัวหรือธุรกิจ สองทาง ด้วยเสียงพูด ระยะใกล้กำลังส่ง 12 วัตต์ PEP สำหรับ Single Side Band และให้ตั้งสายอากาศสูงไม่เกิน 6 เมตร จากหลังคาอาคาร แต่ต้องไม่เกิน 18 เมตร จากพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ตามครอบครัวทั่วไป ขอความช่วยเหลือและในกิจการ อปพร. ฯลฯ อนุญาตให้ใช้โทนเพื่อเรียกขานได้ไม่เกิน 15 วินาที อนุญาตให้ติดต่อได้ในระยะไม่เกิน 245 กิโลเมตรและต่อ “Phone Patch” เพื่อใช้เป็นโทรศัพท์ได้

ถ้ามีผู้แนะนำที่มีความเข้าใจคอยเฝ้าฟังและสามารถตัดการสนทนาได้ถ้ามีข้อความต้องห้าม ซึ่งมีดังนี้

1. ข้อความผิดกฎหมาย

2. วาจาหยาบคาย

3. พฤติกรรมรบกวนผู้ใช้ซีบีอื่นๆ

4. โฆษณาสินค้า หรือโฆษณากิจการเพื่อการค้า

5. เสียงเพลง ผิวปาก หรือซาวนด์เอฟเฟคต่างๆ

6. สัญญาณ May Day (ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน) เว้นแต่มีเหตุฉุกเฉินจริงๆ

7. หาเสียงให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ

8. ติดต่อกับนักวิทยุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีบี

9. จัดรายการสด หรือถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีการค้ากำไร หรือจากสถานีโทรทัศน์สำหรับบ้านเรา นอกจากห้ามการรับส่งต่างความถี่ และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณแล้ว ก็ยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบ หรือข้อห้ามใดๆ ที่ชัดเจนจากกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากห้ามใช้รีพีทเตอร์ในกิจการนี้เท่านั้น

เอกสารนี้เขียนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้ใช้วิทยุสื่อสารความถี่ประชาชน ความถี่ 78 และ 245 MHz

จาก.... http://www.dbthailand.com/radio.htm

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 ธันวาคม 2553 เวลา 01:25

    เรื่องใบอนุญาตเท่าที่รู้ไม่เห็นคนใช้เครื่องแดงมีเท่าไหร่นี่ครับ ส่วนใหญ่ไปซื้อที่บ้านหม้อเขาขายกันเป็นของเล่นเลยครับ จะแก้ไขไงดีครับผมก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ
  2. เครื่องแดงที่มีขายอยู่ จะมีทั้งเครื่องที่มี ปท. และเป็นเครื่องจีนที่ไม่มี ปท.ครับ ถ้าซื้อเครื่องที่มี ปท. ก็ไปขอจดทะเบียนได้ที่ กรมไปรษณีย์ ค่าจดทะเบียน 500 บาทครับ ในส่วนของการสมัครสมาชิกแจ้งข่าวอาญญากรรม เหยี่ยวเวหานั้น จะต้องใช้เลขปท. กำกับด้วย เพราะเป็นเครื่องที่เสียภาษี ถูกกฏหมายครับ

    ตอบลบ