บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อแนะนำ สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุ CB จะต้องรู้

สิ่งที่ผู้ใช้วิทยุซีบีจะต้องรู้

1. เมื่อซื้อวิทยุซีบีแล้ว จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาต” ค่าใบอนุญาตเครื่องละ 500 บาท ใช้ได้ตลอดอายุของเครื่อง หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน

2. หากต้องการตั้งเสาสูง ติดสายอากาศเพื่อให้ส่งได้ไกลหรือติดสายอากาศรถยนต์ จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า “ใบอนุญาตตั้งสถานี” ค่าใบอนุญาต 1,000 บาท ต่อ1 บ้าน หรือ รถ 1 คัน ใช้ได้จนกว่าจะเปลี่ยนรถหรือย้ายบ้าน ซึ่งต้องขออนุญาตใหม่ หลักฐานในการขอใบอนุญาตคือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนบ้านและแผนที่บ้านคร่าวๆ ถ้าชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนรถไม่ใช่ของผู้ขอ ต้องมีใบยินยอมจากผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของ

3. ห้ามใช้เครื่องขยายกำลังส่ง หรือ เพิ่มกำลังส่ง หรือ “บูสเตอร์” เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดการรบกวนอย่างแรง เพราะมีการซอยออกเป็น 80 ช่อง โดยขนาดของช่องเล็กมาก หากใช้กำลังส่งสูงเกินไปจะทะลุข้ามช่อง

4. ห้ามใช้การรับส่งต่างความถี่ (Duplex) และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณ (Repeater)

5. ทางราชการอนุญาตให้ใช้ความถี่วิทยุซีบี 78 และ 245 MHz เพื่อความสะดวกของประชาชนทั่วไป โดยจัดระดับความสำคัญไว้เป็นอันดับสอง ดังนั้น

5.1 รัฐไม่คุ้มครองการรบกวน หมายความว่าหากมีปัญหาในการใช้งานหรือเกิดการรบกวนในความถี่ ประชาชนจะต้องดำเนินการหาวิธีแก้ไขเอง แต่ถ้าการใช้วิทยุซีบีก่อให้เกิดการรบกวนต่อข่ายงานอื่น รัฐมีสิทธิ์สั่งให้แก้ไขการรบกวนนั้น ถ้าแก้ไขไม่ได้รัฐมีสิทธิ์สั่งยกเลิกการอนุญาตให้ใช้วิทยุซีบี สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้วิทยุสื่อสารซีบีทุกคน จะต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยทำตามกฎกติกาอย่างเคร่งครัด ต้องช่วยกันระมัดระวังในการใช้ความถี่ เพื่อให้ความถี่นี้อยู่ให้เราได้ใช้นานๆ และให้เกิดประโยชน์ต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกัน

5.2 ทุกคนมีสิทธิ์เท่าๆ กันในการใช้งานทุกช่องความถี่ ไม่มีใครมีสิทธิ์ยึดช่องใดช่องหนึ่งเป็นของตัวเอง ไม่ว่าเราเป็นใคร ใหญ่โตขนาดไหน ก็ไม่มีสิทธิ์ไล่ผู้ที่เข้ามาใช้ความถี่ร่วมในช่องนั้น ดังนั้น ทุกคนจะต้องใช้หลักถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งกันใช้ หากความถี่ไม่ว่าง ให้รอหรือเปลี่ยนใช้ช่องอื่นที่ว่าง หรือหากในช่องนั้นกำลังมีการประสานงานอยู่ ก็ไม่ควรเข้าไปขัดจังหวะ

5.3 ความถี่นี้ทางราชการไม่ได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน เพียงแต่อนุญาตให้ใช้ในขณะนี้ หากมีความจำเป็นทางราชการอาจะเรียกคืน เพื่อจัดสรรให้กับหน่วยงานที่มีความจำเป็น ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ หรือเรียกร้องขอค่าชดเชยความเสียหายจากอุปกรณ์ที่ได้ลงทุนไป

6. การทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสารมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุก 5 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

7. การใช้ช่องย่อย (DTMF CTCSS DTS ฯลฯ) เพื่อติดต่อเฉพาะกลุ่มนั้น ไม่ใช่เป็นการเก็บความลับ กลุ่มผู้ใช้ที่เข้ารหัสช่องย่อยนั้นจะไม่ได้ยินคนอื่น เหมือนกับการปิดหูตัวเองไว้ เปิดช่องให้ฟังเฉพาะพวกเดียวกัน แต่ผู้ที่ไม่ได้เข้ารหัสช่องย่อยไว้ก็จะสามารถได้ยินทุกคนที่ใช้ความถี่นั้น รวมทั้งได้ยินผู้ที่ใช้ช่องย่อยด้วย

หากมีการใช้ช่องย่อยในความถี่ใด ก็จะรบกวนผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ช่องย่อยโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าทุกคนในความถี่ช่องนั้นใช้ช่องย่อยทั้งหมด จะไม่เกิดการรบกวนกันเลย ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดช่วงความถี่เพื่อการใช้ช่องย่อยโดยเฉพาะ

ข้อแนะนำการใช้วิทยุสื่อสาร สำหรับประชาชน

กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรความถี่ 245 MHz ให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้โดยอิสระ ไม่ต้องสอบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และอนุญาตให้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อโดยการตั้งสถานีได้ (ตั้งเสาสูง) ทำให้ประชาชนสนใจเข้ามาใช้ความถี่นี้เป็นจำนวนมาก ทั้งการใช้งานอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม งานธุรกิจ และประสานงานทั่วไป

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีการใช้โทน โค้ดสเควลช์ CTCSS DTS ในการแบ่งช่องย่อย ในขณะเดียวกัน ประชาชนผู้ใช้งานส่วนมากไม่มีความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสารเลย ไม่ว่าในด้านช่างหรือการแบ่งปันการใช้งาน บางครั้งเกิดปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้งานร่วมกัน

ในอเมริกา ความถี่ 27 MHz เป็นความถี่ที่จัดสรรให้กับกิจการวิทยุซีบี โดยให้ใช้เครื่องที่มี 40 ช่อง ความถี่ 26.965-27.405 MHz สำหรับใช้สื่อสารส่วนตัวหรือธุรกิจ สองทาง ด้วยเสียงพูด ระยะใกล้กำลังส่ง 12 วัตต์ PEP สำหรับ Single Side Band และให้ตั้งสายอากาศสูงไม่เกิน 6 เมตร จากหลังคาอาคาร แต่ต้องไม่เกิน 18 เมตร จากพื้นดิน อนุญาตให้ใช้ตามครอบครัวทั่วไป ขอความช่วยเหลือและในกิจการ อปพร. ฯลฯ อนุญาตให้ใช้โทนเพื่อเรียกขานได้ไม่เกิน 15 วินาที อนุญาตให้ติดต่อได้ในระยะไม่เกิน 245 กิโลเมตรและต่อ “Phone Patch” เพื่อใช้เป็นโทรศัพท์ได้

ถ้ามีผู้แนะนำที่มีความเข้าใจคอยเฝ้าฟังและสามารถตัดการสนทนาได้ถ้ามีข้อความต้องห้าม ซึ่งมีดังนี้

1. ข้อความผิดกฎหมาย

2. วาจาหยาบคาย

3. พฤติกรรมรบกวนผู้ใช้ซีบีอื่นๆ

4. โฆษณาสินค้า หรือโฆษณากิจการเพื่อการค้า

5. เสียงเพลง ผิวปาก หรือซาวนด์เอฟเฟคต่างๆ

6. สัญญาณ May Day (ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน) เว้นแต่มีเหตุฉุกเฉินจริงๆ

7. หาเสียงให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ

8. ติดต่อกับนักวิทยุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีบี

9. จัดรายการสด หรือถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีการค้ากำไร หรือจากสถานีโทรทัศน์สำหรับบ้านเรา นอกจากห้ามการรับส่งต่างความถี่ และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณแล้ว ก็ยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบ หรือข้อห้ามใดๆ ที่ชัดเจนจากกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากห้ามใช้รีพีทเตอร์ในกิจการนี้เท่านั้น

เอกสารนี้เขียนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้ใช้วิทยุสื่อสารความถี่ประชาชน ความถี่ 78 และ 245 MHz

จาก.... http://www.dbthailand.com/radio.htm

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ฝากเตือนเพื่อน ๆ ติดตั้ง ตรวจเข้ม จับรถติดโลโก้ราชการ-ไซเรน

เจอจับปรับหนักถึงขั้นติดคุก

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ประชุมร่วมกับ พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสะอาด ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) และเจ้าหน้าที่ ในกรณีได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมากผ่านเว็บไซต์จราจรตาเพชร ให้ตรวจสอบรถยนต์ส่วนบุคคลติดสติกเกอร์ตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติบนตัวรถ หรือติดสัญญาณไฟวับวาบสีต่าง ๆ บนหลังคาซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและพบมากในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีพฤติกรรมขับรถผิดกฎจราจร ขับรถประมาทหวาดเสียว อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้อื่นได้ ทำให้เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง รวมทั้งอาจเป็นช่องให้คนร้ายใช้เป็นพาหนะก่ออาชญากรรมแล้วหลบหนีการตรวจสอบ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ โดย พล.ต.ต.ภาณุ เปิดเผยว่า จากกรณีดังกล่าวได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบเรื่องร้องเรียนแล้วที่ มีทั้งสิ้นกว่า 50 ราย สามารถติดตามจับกุมและแก้ไขแล้ว 11 ราย ส่วนใหญ่อ้างว่าติดตั้งเพื่อความสวยงามและใช้ช่วยเหลือสังคม สำหรับรถที่ยังติดตามจับกุมไม่ได้ส่วนใหญ่พบว่าเป็นรถยนต์สวมทะเบียนคันอื่น ซึ่งต้องติดตามจับกุมให้ได้ต่อไป

พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวว่า การใช้สัญญาณไฟวับวาบติดรถยนต์ทุกประเภท จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเท่านั้น โดยจะมีอายุ 3 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกจับกุม ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 13 โทษปรับไม่เกิน 500 บาท ในกรณีที่พบว่าติดตั้ง แต่ถ้ามีการใช้สัญญาณไฟด้วยจะมีความผิดเพิ่มอีกหนึ่งข้อหา โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนกรณีที่รถยนต์ส่วนบุคคลบางคันนำสติกเกอร์เครื่องหมายสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ หรือหน่วยงานตำรวจต่าง ๆ มาติดโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดข้อหา ใช้เครื่องหมายราชการโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินสองพันบาท ซึ่ง บช.น.ได้ประชาสัมพันธ์ให้แก้ไขเป็นระยะเวลานานแล้ว ต่อไปจะดำเนินการตรวจสอบ กวดขันจับกุม ทันทีที่พบ ทั้งนี้ได้ลงบันทึกสั่งการไปยัง บก.น.1-9 และ บก.จร.ให้เปรียบเทียบปรับข้อหาติดตั้งและใช้สัญญาณไฟในอัตราสูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดกระแสนิยม ส่วนความผิดเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายราชการ จะต้องถูกดำเนินคดีฟ้องศาลไม่สามารถเปรียบเทียบปรับที่สถานีตำรวจได้ จึงขอให้ผู้กระทำผิดดังกล่าวรีบแก้ไขเปลี่ยนแปลงรถยนต์ของท่านให้ถูกต้องตาม กฎหมายทันที.

ช่องความถี่ CB245 อาสาสมัคร มูลนิธิฯ กู้ชีพ กู้ภัย

ความถี่CB 245 กำลังหาเพิ่มเติม
กรุงเทพมหานคร
01/80 จส.100
02/80 ศูนย์ฉิมพลี
03/80 ศูนย์กู้ภัยพหลฯ
09/80 ศูนย์วีอาร์ จราจร
10/80 ศูนย์กู้ชีพบูรณะ/ศูนย์ ซีบี เจริญนคร/ศูนย์ทุ่งครุ
12/80 ศูนย์มีนบุรี
14/80 ศูนย์ประกันกลาง
16/80 ศูนย์พิรุณ
36/80 ศูนย์ร่วมด้วยฯ/กู้ภัยทรัพย์สนอง/สมิตติเวช
39/80 ศูนย์ชาลีกรุงเทพ
47/80 ศูนย์แจ้งข่าวดอนเมือง
48/50 ศูนย์พุฒตาล
49/80 ศูนย์พญาอินทรีย์
50/80 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 1/ศูนย์พุธไท
51/80 ศูนย์กู้ชีพศรีวิชัย 2
52/80 ศูนย์กู้ชีพวิภาวดี/กู้ชีพวิภาวดีราม
54/80 ศูนย์พระราม 2
69/80 ศูนย์กู้ชีพมหาชัย 2/ศูนย์ร่วมด้วยฯพัทยา
73/80 ศูนย์ร่วมปทุมฯ
77/80 ศูนย์เหยี่ยวเวหา
79/80 ศูนย์วิทยุอาร์ คอม กรุงเทพ
80/80 ศูนย์วิทยุพระรามเก้า
(นวนคร)
57/80
65/80
จังหวัดกระบี่
จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดขอนแก่น
1.ช่อง 05 (ไม่แน่ใจว่าความถี่บ้าน)
2.ช่อง 23 ศูนย์รักษาความปลอดภัย
3.ช่อง 31 ศูนย์รักษาความปลอดภัยมะลิวัลล์
4.ช่อง 33
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี
1.ช่อง 07 ศรีราชา
2.ช่อง 61 โลมา(พัทยา)
3.ช่อง 55 EN(พัทยา)
4.ช่อง 79 ศูนย์อมตะ
5.ช่อง 09 เพื่อนๆในนิคมอมตะนคร
6.ช่อง 45 พญาค้างคาว(สัตxxบ)
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดชุมพร
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่
1.ช่อง 01
2.ช่อง 04 ศูนย์กู้ภัยหยาดฟ้า
3.ช่อง 51 ศูนย์เหยี่ยวข่าวสารภี
4.ช่อง 71 ศูนย์กู้ภัยสันกำแพง
5.ช่อง 73 ชมรม CB ล้านนา
6.ช่อง 75
7.ช่อง 79 ชมรม CB เชียงใหม่
8.ช่อง 43 tone10 ศูนย์กู้ภัยพิงค์นคร
จังหวัดตรัง
จังหวัดตราด
จังหวัดตาก
จังหวัดนครนายก
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา
1.ช่อง 1 หน่วยกู้ภัยฮุก31โคราช ม.
2.ช่อง 18 ศูนย์กู้ชีพ EMS 1669 ร.พ.มหาราชนครราชสีมา
3.ช่อง 53
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครสวรรค์
1. ช่อง 75 ชมรมCB ปากน้ำโพ
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดน่าน
จังหวัดบุรีรัมย์
1.ช่อง 25
3.CH 32 ศูนย์ จส. และรส.
3.CH 41 พยัฆค์ หน่วยกู้ภัย
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อ.บางสะพาน
1.ช่อง 33
1.CH62
จังหวัดปราจีนบุรี
1. ช่อง 31
2. ช่อง 29 ศุนย์พยาอินทรีย์
จังหวัดปัตตานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
1. ช่อง 37 ชมรมกู้ชีพอยุธยา
2. ช่อง 51 ศูนย์กู้ภัยพุทไธสวรรย์
จังหวัดพะเยา
1. ช่อง 01
จังหวัดพังงา
1.ช่อง 36
จังหวัดพัทลุง
จังหวัดพิจิตร
จังหวัดพิษณุโลก
1. ศูนย์กู้ชีพ อาวี ช่อง 8 (โรงพยาบาลรัตนเวช)
2. ศูนย์กู้ชีพอินเตอร์ ช่อง 23 (โรงพยาบาลอินเตอร์เวชการ)
3. ศูนย์กู้ชีพเวชรักษ์ ช่อง 27 (โรงพยาบาลพิษณุเวช)
4. ศูนย์อปพร.ตำบลปากโทก ช่อง 29 (องค์การบริหารส่งนตำบลปากโทก)
5. ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกันป้องกันภัย ช่อง 37 (ร่วมด้วยช่วยกันสุโขทัย-พิษณุโลก ร่วมกับสมาคมป้องกันภัย
จังหวัดพิษณุโลก)
6. ช่อง 38 โทน 7 ศูนย์ผ่านศึก (ทหารผ่านศึก)
7. ศูนย์กู้ภัยบูรพา ช่อง 40 (สมาคมพิษณุโลกการกุศลสงเคราะห์) โรงเจไซทีฮุกตึ๊ง เขาสมอแคลง อำเภอวังทอง
จังหวัดพิษณุโลก
8. ศูนย์วิทยุ ซีบี57 ร่วมใจ ช่อง 57 (ชมรมนักวิทยุซีบี57 ร่วมใจ จังหวัดพิษณุโลก)
9. ศูนย์กู้ภัยพิษณุโลก ช่อง 62 (มูลนิธิประสาทบุญญสถาน)
10.ศูนย์ชมรมคนรักพิษณุโลก ช่อง 64(ชมรมคนรักพิษณุโลก)
11. ศูนย์กู้ภัยข่าวภาพ ช่อง 66 (สมาคมกู้ภัยข่าวภาพ)
12. ศูนย์ตลาดวัดโบสถ์ ช่อง 74 (ชมรมวิทยุซีบี74 ร่วมใจ) ตลาดวัดโบสถ์
13. ศูนย์เหยี่ยวเวหา ช่อง 77 ไม่มีโทน (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
14. ศูนย์พญาเสือ ช่อง 80 (โรงเรียนผดุงราษฎร)
จังหวัดเพชรบุรี
1.ช่อง 19 ช่องบ้าน
2.ช่อง 40 ศูนย์ตะวัน
3.ช่อง 35 โทน7 เหยี่ยวเวหาเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่
1.ช่อง 32 กู้ภัยแพร่
2.CH.51
จังหวัดภูเก็ต
1.ช่อง 01 ช่องกระทู้( ช่องช็อต )
2.ช่อง 09 โรงพยาบาลศิริโรจน์
3.ช่อง 25 ชมรมวิทยุชีบีจังหวัดภูเก็ต
4.ช่อง 39 กู้ภัยนาคา
5.ช่อง 73 ศูนย์รัชฎา ( ภูเก็ตเรดิโอ )
6.ช่อง 76 ศูนย์ไข่มุก
7.ช่อง 77 โทน 7 เหยี่ยวเวหาภูเก็ต
8. CH.52 Animal Planet ภูเก็ตสัมพันธ์
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดยโสธร
จังหวัดยะลา
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดระนอง
จังหวัดระยอง
1. ช่อง 23 ศูนย์กู้ภัยปลวกแดง
2. ช่อง 35 ช่องคุยเล่นถามทาง
3. ช่อง 59 รส.รย แจ้งเหตุแจ้งข่าว
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดลพบุรี
1.ช่อง46 ศูนย์ชลสิทธิ์
จังหวัดลำปาง
1.ช่อง 12 ศูนย์ไตรรงค์
2.ช่อง39 กลุ่มพันธมิตร ลำปาง
3.ช่อง 5 ชมรมถ่านหิน จ.ลำปาง
4.ช่อง 7 กลุ่มอิสระนครลำปาง
จังหวัดลำพูน
จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ
1.CH 59 ชมรมนักวิทยุซีบี245 ร้อยเอ็ด (อ.เมือง)
2.CH 57 ศูนย์กู้ชีพ ฟาร่า (อ.เกษตรวิสัย)
3.CH 41 กลุ่มนักวิทยุซีบี245 เมืองเกษ (อ.เกษตรวิสัย)
4.CH 40 ศูนย์พิทักษ์ชีพ (อ.เสลภูมิ)
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสตูล
จังหวัดสมุทรปราการ
1.ช่อง 40 ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ชีพ"เพชรสมุทร"
จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสระแก้ว
1.ช่อง 50 อ.อรัญญประเทศ
จังหวัดสระบุรี
1.ช่อง 71 ศูนย์ตะวัน
จังหวัดสิงห์บุรี
1.ช่อง 33 อาสาฯร่วมกตัญญูสิงห์บุรี
จังหวัดสุโขทัย
1.ช่อง 38 กู้ภัยร่วมมิตรสุโขทัย
2.ช่อง 49 กลุ่มเสือทหาร
จังหวัดสุพรรณบุรี
1.ช่อง 80
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.ช่อง 59 กลุ่ม CB ศรีสุราษฯ
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอ่างทอง
1.ช่อง 34 กู้ภัยอ่างทอง
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี
จังหวัดอุตรดิตถ์
1.ช่อง59 กู้ภัยอุตรดิตถ์
2.ช่อง75 กู้ภัยวัดหมอนไม้
จังหวัดอุทัยธานี
1.กู้ภัยอถทัยธานี ช่อง 43
จังหวัดอุบลราชธานี
1.CH 51
กำลังรวบรวมให้เพิ่มเติมครับ ใครทราบว่าที่ไหนใช้ช่องใดนอกจากที่มีอยู่ไปโพสต์บอกด้วยนะ
(แหล่งอ้างอิง www.cb57.net ชมรมนักวิทยุ CB 57 ร่วมใจพิษณุโลก)

ช่องความถี่ CB245 เหยี่ยวเวหา ทุก บก. และต่างจังหวัด

ความถี่สแตนบายศูนย์เหยี่ยวเวหา ความถี่ 245 MHz
"สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (อาคาร 33) พระราม 1 เขตปทุมวัน กทม. 10330"
โทร. ธุรการ 02-205-1953-3 , ศูนย์ฯ 02-205-1944-5 โทรสาร. 02-205-1956

เหยี่ยวเวหากรุงเทพและปริมณฑล
บก.เขต 1 ช่อง 04 ไม่มีโทน
บก.เขต 2 ช่อง 59 โทน 25
บก.เขต 3 ช่อง 12 ไม่มีโทน
บก.เขต 4 ช่อง 80 ไม่มีโทน
บก.เขต 5 ช่อง 26 โทน 7
บก.เขต 6 ช่อง 71 โทน 7
บก.เขต 7 ช่อง 40 ไม่มีโทน
บก.เขต 8 ช่อง 20 โทน 7
บก.เขต 9 ช่อง 08 ไม่มีโทน
บก.นนทบุรี ช่อง 78 ไม่มีโทน
บก.ปทุมธานี ช่อง 74 ไม่มีโทน
บก.สมุทรปราการ ช่อง 56 โทน 7
บก.สมุทรสาคร ช่อง 43 ไม่มีโทน
ศูนย์ปฏิบัติการเหยี่ยวเวหาปทุมวัน ช่อง 77 โทน 7

จ.เพชรบุรี ช่อง 35 โทน 7
จ.นครศรีธรรมราช ช่อง 77 ไม่มีโทน
จ.พิษณุโลก ช่อง 77 ไม่มีโทน
จ.ภูเก็ต ช่อง 77 โทน 7
จ.สุราษฏร์ธานี ช่อง 35 ไม่มีโทน
จ.เชียงราย ช่อง 35 โทน 7
จ.เชียงใหม่ ช่อง 15 โทน 7
จ.อุดรธานี ช่อง 35 โทน 7
จ.อุบลราชธานี ช่อง 77 ไม่มีโทน
จ.นครราชสีมา ช่อง 37 โทน 7
จ.ขอนแก่น ช่อง 77 โทน 7

***** โทน 7 = 82.5 Hz *****

เกร็ดความรู้ การใช้สัญญาณไฟ วับวาบ

โดย ร.ต.ท.ชูมิตร ชุณหวาณิชพ
นบ.,น.บ.ท.,นม.




ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 ได้ให้คำนิยามของ “รถฉุกเฉิน” ไว้ว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้ และ พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติของรถฉุกเฉินไว้ ดังนี้

มาตรา ๗๕ ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้

(๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้

(๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด

(๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้

(๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับ ช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้

ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

มาตรา ๗๖ เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสง วับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด

(๒) สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก

(๓) สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำ ได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาต ต้องดูประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณวับวาบ และเสียงสัญญาณ อาศัยอำนาจตามความในข้อกำหนดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน ฉบับลงวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้ไฟสัญญาณ วับวาบและเสียงสัญญาณไว้ ดังต่อไปนี้ …….

ข้อ ๒ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ในราชการทหารหรือตำรวจ รถดับเพลิง รถพยาบาล และรถยนต์ของทางราชการอื่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

๒.๑ เป็นรถที่ใช้ปฏิบัติภารกิจด้านการถวายความปลอดภัย, การรักษาความปลอดภัย, การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม, การจราจร, การปฏิบัติงานในทางเพื่อการบริการสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานนั้นๆ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด

๒.๒ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พิจารณามีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต โดยมีหลักฐานดังนี้

๒.๒.๑ คำร้องขออนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการ

๒.๒.๒ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ

ข้อ ๓ รถดับเพลิงของเอกชน

๓.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

๓.๑.๑ ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัย สำหรับในกรุงเทพมหานคร ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทยด้วย

๓.๑.๒ ต้องมีระเบียบ ข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการบริหารและสมาชิก ซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรบรรเทาสาธารณภัย หลักสูตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยจากกองบังคับการตำรวจดับเพลิงแล้ว ไม่น้อยกว่า ๕๐ คน

๓.๑.๓ ต้องมีสถานที่ทำการหรือสำนักงาน สถานที่จอดรถ สถานที่เก็บรถ ตลอดจนสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อกิจการบรรเทาสาธารณภัยเป็นของตน เอง หากเป็นสาธารณสถานหรือสถานที่ของผู้อื่น ต้องมีหนังสืออนุญาตจากเจ้าของสถานที่มาแสดงด้วย

๓.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

๓.๒.๑ เป็นรถดับเพลิงมาตรฐาน จะมีถังน้ำในตัวหรือไม่ก็ได้หรือเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายซึ่งมีเครื่องสูบ น้ำดับเพลิงชนิดหาบหามประจำรถ

๓.๒.๒ สีของรถต้องเป็นสีแดงตลอดทั้งคัน

๓.๒.๓ อุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถ อย่างน้อยจะต้องมี

๓.๒.๓.๑ สายสูบหรือสายส่งน้ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ นิ้ว ๑๕ เส้น

๓.๒.๓.๒ ท่อดูด ๑ ท่อ

๓.๒.๓.๓ หัวฉีดธรรมดาและชนิดปรับเป็นฝอยอย่างละ ๑ หัว

๓.๒.๓.๔ ข้อต่อทางแยก ๒ ทาง ๑ หัว

๓.๒.๓.๕ เครื่องมือเปิดประปาหัวแดง ๑ อัน

๓.๒.๓.๖ ขวาน ชะแลง และตาขอด้ามไม้ขนาดยาว ๑ ชุด

๓.๒.๓.๗ เครื่องดับเพลิงเคมีขนาดไม่น้อยกว่า ๑๐ ปอนด์ ชนิดดับไฟประเภทเอ.บี.ซี. ได้ จำนวน ๔ เครื่อง

๓.๒.๓.๘ บันไดดับเพลิง ๑ อัน

๓.๒.๔ รถและอุปกรณ์ต้องมีสภาพใช้การได้ดี

๓.๓ การขออนุญาต ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๓.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๔ รายชื่อกรรมการบริหารและสมาชิกของนิติบุคคล ๑ ชุด

๓.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๓.๓.๖ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถ หากเป็นรถกระบะบรรทุกเปิดท้ายต้องให้เห็นอุปกรณ์ดับเพลิงภายในรถขนาด ๕ 5 ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๓.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำรถพร้อมภาพถ่ายอุปกรณ์อย่างละ ๑ ชุด

๓.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพหมานครหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหรือหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอ ผู้มีอำนาจอนุญาต

๓.๕ ข้อปฏิบัติการใช้รถ

ผู้ขับขี่รถต้องเป็นสมาชิกของนิติบุคคลผู้รับอนุญาต และต้องแต่งเครื่องแบบอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยขณะปฏิบัติหน้าที่

ข้อ ๔ รถพยาบาลของเอกชน

๔.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือสถานพยาบาลประจำโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

๔.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถ

๔.๒.๑ เป็นรถตู้หรือรถที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนาดมาตรฐานรถพยาบาลสีขาวตลอดทั้งคัน

๔.๒.๒ ภายในรถมีกระจกปิดกั้นระหว่างห้องคนขับกับห้องผู้ป่วย และมีเครื่องระบายอากาศระบบไฟฟ้าบนหลังคา

๔.๒.๓ มีอุปกรณ์รักษาพยาบาลและเครื่องช่วยชีวิตฉุกเฉินดังนี้

๔.๒.๓.๑ อุปกรณ์ประจำรถภายในห้องผู้ป่วย

๔.๒.๓.๑.๑ เปลนอนสำหรับผู้ป่วย ขนาดมาตรฐาน

๔.๒.๓.๑.๒ ชุดให้อ๊อกซิเจน สามารถใช้รักษาผู้ป่วยติดต่อกันได้นานไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง

๔.๒.๓.๑.๓ ชุดเครื่องดูดเสมหะ ระบบไฟฟ้า

๔.๒.๓.๑.๔ เก้าอี้สำหรับพยาบาล

๔.๒.๓.๑.๕ ตู้เก็บเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์

๔.๒.๓.๑.๖ อุปกรณ์แขวนขวดน้ำเกลือ

๔.๒.๓.๒ อุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉินและเวชภัณฑ์ (CPR KIT)

๔.๒.๓.๒.๑ เครื่องวัดแรงดันโลหิต (SPHYGMOMANOMETER)

๔.๒.๓.๒.๒ เครื่องฟังหน้าอก (STETHOSCOPE)

๔.๒.๓.๒.๓ เครื่องช่วยหายใจและผายปอด (PORTABLE RESPIRATOR OR AMBU BAG)

๔.๒.๓.๒.๔ เครื่องตรวจส่องภายในหลอดเสียงและท่อหลอดลม (LARYNGOSCOPE AND ENDOTRACHEAL TUBE)

๔.๒.๓.๒.๕ ชุดผ่าตัดเล็ก (MINOR SUR GICAL SET)

๔.๒.๓.๒.๖ เวชภัณฑ์และยาฉุกเฉินรถพยาบาลและอุปกรณ์ ต้องอยู่ในสภาพใช้การได้ดีและให้ความปลอดภัย

๔.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด พร้อมหลักฐานดังนี้

๔.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล

๔.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ฉบับ

๔.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตตั้งสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๔ สำเนาภาพถ่ายใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล (แผนปัจจุบัน) ๑ ฉบับ

๔.๓.๕ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ฉบับ

๔.๓.๖ ภาพถ่ายสีด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถและอุปกรณ์การแพทย์ ภายในรถขนาด ๕ X ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๔.๓.๗ บัญชีอุปกรณ์ประจำรถตามข้อ ๔.๒ จำนวน ๑ ชุด

๔.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการส่งเรื่องและรถไปให้แพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจหรือแพทย์ของโรงพยาบาล ประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี ตรวจสภาพก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็นเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

ข้อ ๕ รถอื่นของเอกชน

๕.๑ สถานภาพของหน่วยงาน

ต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการดังนี้

๕.๑.๑ นำส่งเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือบุคคลซึ่งประสบเคราะห์กรรม กรณีอุบัติภัย หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หรือกิจการสาธารณูปโภค อันเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน หรือ

๕.๑.๒ การปฏิบัติงานในทางเพื่อความปลอดภัยของสาธารณชนอันเป็นกิจการสาธารณประโยชน์หรือใช้เป็นรถโรงเรียน

๕.๒ ลักษณะรถและอุปกรณ์ประจำรถไม่จำกัด แต่ต้องมีสภาพใช้การได้ดีและต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ในการใช้

๕.๓ การขออนุญาต

ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

๕.๓.๑ คำร้องขออนุญาตของนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๒ สำเนาภาพถ่ายการจดทะเบียนนิติบุคคล ๑ ชุด

๕.๓.๓ สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ ๑ ชุด

๕.๓.๔ ภาพถ่ายสี ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสองข้าง และด้านหลังของรถขนาด ๕ x ๖ นิ้ว ๑ ชุด

๕.๔ ให้ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจจราจร หรือผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการจัดให้มีการตรวจสภาพรถก่อนแล้วจึงให้รวบรวมหลักฐานพร้อมมีความเห็น เสนอผู้มีอำนาจอนุญาต

ข้อ 6 รถบริการแพทย์ฉุกเฉิน

6.1 เป็นรถที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหนังสือรับรองมาตรฐานยังไม่หมดอายุในวันที่ยื่นเรื่องขออนุญาต

6.2 ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการกองบังคับการตำรวจจราจร ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นหนังสือร้องขอต่อผู้บังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด โดยมีหลักฐานดังนี้

6.2.1 คำร้องขอติดตั้งไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินที่ผ่านการเห็นชอบของผู้ได้ รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข

6.2.2 สำเนาภาพถ่ายใบคู่มือการจดทะเบียนรถ 1 ฉบับ

6.3 ให้ผู้มีอำนาจอนุญาต อนุญาตให้รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินใช้ไฟสัญญาณวับวาบแสงแดงและน้ำเงินได้เป็น ระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองมาตรฐานของปลัดกระทรวง สาธารณสุข

เอกสารการสมัคร สมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เหยี่ยวเวหา กองตำรวจสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำหรับคุณสมบัติผู้ที่จะสมัครสมัครเหยี่ยวเวหา

1.สำเนาบัตรประชาชนทะเบียนบ้านอย่างละ2ชุด
2.สำเนาใบอนุญาตมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคม 1ชุด
3.รูปถ่าย1นิ้วถ่ายไม่เกิน 6เดือน 3 ใบ
4.ต้องไม่เคยต้องโทษคดีร้ายแรงหรือจำคุก
5.ต้องไม่เป็นพระภิกษุสามเณร
6.ต้องมีอายุ18ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ส่วน ค่าใช้จ่ายในการสมัครไม่ต้องเสียแต่อย่างใดถ้าเพื่อนท่านใดสนใจแล้วมี คุณสมบัติตามที่กล่าวมาก็สมัครได้แต่เปิดรับสมัครเมื่อไหร่ต้องติดต่อสอบถาม 022051953-5 ในเวลาราชการเหยี่ยวเวหาปทุมวันกทม. หรือ 084-666-7911

รหัสวิทยุสื่อสาร

รหัสวิทยุสื่อสาร
รหัส (Code) ความหมาย รหัส (Code) ความหมาย
ว.0 คำสั่ง ว.29 มีราชการ/ธุระ
ว.00 รอก่อน / คอยก่อน /ให้คอยอยู่ ว.30 จำนวน/ขอทราบจำนวน
ว.01 ที่ทำงาน ว.31 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 1
ว.02 ที่พัก / บ้าน ว.32 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 2
ว. 1 อยุ่ที่ไหน / อยู่ที่...... ว.33 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 3
ว. 2 ได้ยินหรือไม่/ตอบด้วย/ได้ยินแล้ว ว.34 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 4
ว. 3 ทวนข้อความซ้ำอีกครั้ง ว.35 เตรียมพร้อมปฏิบัติการ
ว. 4 ปฏิบัติหน้าที่/ดำเนินการ ว.36 เตรียมความพร้อมเต็มอัตรา
ว. 5 ราชการลับ/ความลับ ว.37 เตรียมความพร้อมครึ่งอัตรา
ว. 6 ขอติดต่อด้วย/โต้ตอบด้วย ว.38 เตรียมพร้อม 1/3 อัตรา
ว. 7 ขอความช่วยเหลือ(มีเหตุคับขัน) ว.39 สภาพการจราจรคับคั่ง
ว. 8 ข่าวสาร/ข้อความ ว.40 อุบัติเหตุทางรถยนต์
ว. 9 มีเหตุฉุกเฉิน ว.41 สัญญาณไฟจราจร
ว.10 อยู่ประจำที่/ติดต่อทาง ว.ได้ ว.42 ยานพาหนะนำขบวน/ยานพาหนะ
ว.11 หยุดพัก/ติดต่อทาง ว.ได้ ว.43 จุดตรวจยานพาหนะ
ว.12 หยุดพัก/ติดต่อทาง ว.ไม่ได้ ว.44 ติดต่อทางโทรสาร(FAG)
ว.13 ติดต่อทางโทรศัพท์ ว.50 รับประทานอาหาร
ว.14 เลิกงาน/ปิดสถานี ว.55 ให้อำนวยความสะดวก
ว.15 ให้มาพบ/นัดหมาย ว.60 ญาติ /พี่น้อง/เพื่อน
ว.16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ ว.61 ขอบคุณ
ว.16 - 1 จับใจความไม่ได้ ว.62 สิ่งของ
ว.16 - 2 เสียงไม่ชัดเจน ว.63 บ้าน
ว.16 - 3 เสียงชัดเจนพอใช้ได้ ว.64 มีธุระส่วนตัว
ว.16 - 4 เสียงชัเดจนดี ว.601 เครื่องรับ-ส่งวิทยุ
ว.16 - 5 เสียงชัดเจนดีมาก ว.602 สายอากาศวิทยุ
ว.17 มีอันตรายห้ามผ่าน ว.603 รถยนต์
ว.18 นำรถยนต์ออกทดลองเครื่อง/รถเสีย ว.604 ดูโทรทัศน์
ว.19 สถานีถูกยึด/ถูกโจมตี ว.605 รับประทานอาหาร
ว.20 จับกุม/ตรวจค้น ว.606 พูดจาไม่เป็นความจริง
ว.21 ออกเดินทางจาก ว.607 ธุรกิจส่วนตัว
ว.22 ถึง......(สถานที่) ว.608 คนก่อกวน
ว.23 ผ่าน ว.609 คลื่นรบกวน
ว.24 เวลา/ขอทราบเวลา ว.610 คิดถึง
ว.25 ไป ว.621 เงิน
ว.26 ให้ติดต่อทาง ว.ให้น้อยที่สุด ว.100 ขอโทษ/ขออภัย
ว.27 ให้ติดต่อทางโทรพิมพ์
ว.28 ประชุม/มีประชุม
รหัสที่ใช้ในการแจ้งเหตุ
เหตุ 100 มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน เหตุ 221 ทำร้ายร่ายกาย ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 111 ลักทรัพย์ เหต ุ231 ทำร้ายร่ายกาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์ เหตุ 241 ฆ่าคนตาย
เหตุ 131 ชิงทรัพย์ เหตุ 300 การพนัน
เหตุ 141 ปล้นทรัพย์ เหตุ 501 วัตถุต้องสงวัยเกี่ยวกับระเบิด
เหตุ 200 มีเหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย เหตุ 511 ได้เกิดระเบืดขึ้นแล้ว
เหตุ 201 เพลิงไหม้หญ้า เหตุ 512 วัตถุระเบิดตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด
เหต ุ202 ไฟฟ้าลัดวงจร เหตุ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท
เหต ุ203 เพลิงไหม้ยานพาหนะ เหตุ 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุเชื่อว่าจะก่อเหตุ
เหตุ 204 เพลิงไหม้(บ้าน ชุมชน อาคาร........) เหต ุ602 นักเรียนก่อเหตุหลบหนีไปแล้ว
เหตุ 205 เพลิงไหม้อาคารเก็บเชื้อเพลิงสารเคมี เหตุ 603 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันและกัน
เหตุ 206 เพลิงไหม้อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ เหตุ 604 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันถึงความตาย
เหตุ 211 ทำร้ายร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ เหตุ 605 นักเรียนยกพวกก่อเหตุทำร้ายกันมีวัตถุระเบิด

Q Code ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น
Q Code ความหมาย(สำหรับคำถาม) ความหมาย(สำหรับคำตอบ) หมายเหตุ
QRA สถานีของท่านชื่ออะไร ? สถานีของข้าพเจ้าชื่อ…
QRB ท่านอยู่ห่างจากสถานีของข้าพเจ้าเท่าใด ? ข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีของท่านประมาณ…
QRD ท่านจะไปที่ไหน ? และมาจากที่ไหน ? ข้าพเจ้าจะไปที่ … ข้าพเจ้ามาจาก …
QRE ท่านจะมาถึงเวลาใด ? ข้าพเจ้าจะไปถึงเวลา …
QRG ท่านจะบอกความถี่แท้จริงของข้าพเจ้าได้ไหม ? ความถี่แท้จริงของท่านคือ …
QRH ความถี่ของข้าพเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ? ความถี่ของท่านเปลี่ยน …
QRK ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ? ข้าพเจ้ารับฟังข้อความของท่านได้ …

QRK 1 : รับฟังข้อความไม่ได้เลย
QRK 2 : รับฟังข้อความไม่ค่อยดี ( แทบไม่ได้ หรือรับได้บางคำ )
QRK 3 : รับฟังข้อความได้พอใช้
QRK 4 : รับฟังข้อความได้ดี
QRK 5 : รับฟังข้อความได้ดีเยี่ยม
QRL ท่านกำลังมีธุระหรือ ? ข้าพเจ้ากำลังมีธุระ … (หรือมีธุระกับ …)
QRM ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ? (จากบุคคล) ข้าพเจ้ากำลังถูกรบกวน ( 1~5 )
QRN ท่านกำลังถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ ? ข้าพเจ้าถูกรบกวนโดยประจุไฟฟ้าในบรรยากาศ ( 1 ~ 5 )
QRO ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ? เพิ่มกำลังส่งขึ้นอีก
QRP ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ? ลดกำลังส่งลง
QRQ ข้าพเจ้าจะส่งเร็วชึ้นได้หรือไม่ ? ส่งเร็วขึ้น ( … คำต่อนาที )
QRS ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลงได้หรือไม่ ? ส่งช้าลง ( … คำต่อนาที )
QRT ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ? หยุดการส่ง
QRU ท่านมีข้อความอะไรถึงข้าพเจ้าอีกหรือไม่ ? หมดข้อความ
QRV ท่านพร้อมหรือยัง ? ข้าพเจ้าพร้อมแล้ว
QRW จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่าท่านกำลังเรียกอยู่ที่ความถี่.. ? ขอให้ท่านแจ้งเขาให้ทราบ
QRX เมื่อใดท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ? ข้าพเจ้าจะเรียกท่านอีก เวลา..น.
QRZ ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ? (ชื่อสถานี) กำลังเรียกท่าน
QSA ความแรงของสัญญาณของข้าพเจ้าเป็นเช่นไร ? ความแรงสัญญาณของท่าน

QSA 1 : อ่อนมากจนแทบรับสัญญาณไม่ได้เลย
QSA 2 : อยู่ในระดับอ่อน
QSA 3 : อยู่ในระดับแรงพอใช้ได้
QSA 4 : อยู่ในระดับแรงดี
QSA 5 : อยู่ในระดับแรงดีมาก
QSB สัญญาณของข้าพเจ้าจางหายหรือไม่ ? สัญญาณของท่านจางหาย
QSL ท่านรับข้อความได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้ารับข้อความได้แล้ว
QSM จะให้ข้าพเจ้าทวนข้อความสุดท้าย ซ้ำอีกหรือไม่ ? โปรดทวนข้อความสุดท้ายซ้ำอีกครั้ง
QSN ท่านได้ยินข้าพเจ้าที่ความถี่...หรือไม่ ? ข้าพเจ้าได้ยินท่านที่ความถี่..
QSO ท่านสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรงหรือไม่ ? ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรง
QSP ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง...ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดข้อความไปถึง...ได้
QSX ท่านจะรับฟัง (ชื่อสถานี) ที่ความถี่..ได้หรือไม่ ? ข้าพเจ้ากำลังรับฟัง (ชื่อสถานี) ที่ความถี่
QSY ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่นได้หรือไม่ ? ให้เปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่อื่นที่...
QTH ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด ? ตำแหน่งสถานีของข้าพเจ้าอยู่ที่...
QTR ขณะนี้เวลาเท่าใด ? ขณะนี้เวลา...

คำเฉพาะและคำย่อต่างๆ ที่ควรรู้สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
BREAK - ขอขัดจังหวะ การติดต่อระหว่างคู่สถานีที่กำลังติดต่อกันอยู่ (มาจากคำว่า Break in)
CLEAR - เลิกการใช้ความถี่ที่กำลังใช้อยู่(เมื่อสิ้นสุดการติดต่อ เพื่อเปิดโอกาศให้สถานีอื่นมาใช้ได้)
CONTACT - ขอเข้าร่วมใช้ความถี่ ที่คู่สถานีกำลังติดต่อกันอยู่
CQ - เรียกแบบไม่เจาะจงสถานี (General Call) เพื่อต้องการจะติดต่อด้วย มีความหมายว่า "ผู้ใดได้ยินแล้วตอบด้วย"
DX - การติดต่อระยะไกลๆด้วยวิทยุ , ระยะทางไกล , สถานีที่อยู่ห่างไกล (ต่างประเทศ) ย่อมาจากคำว่า Distance
HAM - เป็นคำแสลง หมายความว่า นักวิทยุสมัครเล่น
LAND LINE (LIMA LIMA) - โทรศัพท์
MAYDAY - สัญญาณแจ้งเหตุอันตราย หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน
NEGATIVE - ไม่ใช่ , ขอปฏิเสธ
OVER - เปลี่ยน (เชิญคู่สถานีเป็นฝ่ายส่ง)
ROGER - รับข้อความที่ส่งมาครบถ้วน และเข้าใจแล้ว
STAND BY - อยู่ในสภาวะเตรียมพร้อมที่จะรับการติดต่อ
XYL - ภรรยา
YL - หญิงสาว หรือนักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นเพศหญิง
73 - ด้วยความปราถนาดี ใช้กล่าวอำลาเมื่อจะเลิกติดต่อทางวิทยุ
88 - มาจากคำว่า LOVE and KISS ใช้กล่าวอำลาสำหรับนักวิทยุที่มีเพศต่างกันและคุ้นเคยกันเท่านั้น
GO AHEAD - เริ่มส่งได้
QSL CARD - บัตรรายงานผลการติดต่อสื่อสาร



การอ่านออกเสียงตัวอักษร(International Telecommunication Union Phonetic Alphabets)
ในข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ และองค์การบินพลเรือนระห่วางประเทศ(ICAO) ได้กำหนดวิธีการอ่านออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษไว้เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการออกเสียงสัญญาณเรียกขาน คำย่อ และคำต่าง ๆ เพื่อป้องกันความสับสนในการออกเสียงตัวอักษร หรือมีปัญหาด้านภาษาระหว่างกัน เป็นต้น
พยัญชนะ การอ่านออกเสียง
A Alfa AL FAH อัลฟ่า
B Bravo BRAH VOH บราโว่
C Charlie CHAR LEE OR SHAR LEE ชาลี
D Delta DELL THA เดลต้า
E Echo ECH OH เอ็คโค่
F Foxtrot FOKS TROT ฟอกซ์ทรอต
G Golf GOLF กอล์ฟ
H Hotel HOH TEL โฮเทล
I India IN DEE AH อินเดีย
J Juliett JEW LEE ETT จูเลียต
K Kilo KEY LOH คีโล
L Lima LEE MAH ลีม่า
M Mike MIKE ไม้ค์
N November NO VEM BER โนเวมเบอร์
O Oscar OSS CAH ออสก้า
P Papa PAH PAH ปาป้า
Q Quebec KEH BECK คีเบค
R Romeo ROW ME OH โรมิโอ
S Sierra SEE AIR RAH เซียร์ร่า
T Tango TANG GO แทงโก้
U Uniform YOU NEE FORM OR OO NEE FORM ยูนิฟอร์ม
V Victor VIK TAH วิคต้า
W Whiskey WISS KEY วิสกี้
X X-ray ECKS RAY เอ็กซเรย์
Y Yankee YANG KEY แยงกี้
Z Zulu ZOO LOO ซูลู

เวหา บก.เขต7 ยินดีต้อนรับ

พี่น้องสมาชิกเหยี่ยวเวหา บก.เขต7 ที่มีรูปถ่าย หรือผลงานการออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยส่งรูปมาที่ E-mail : vaharbangkok7@hotmail.com ทางทีมงานจะได้คัดเลือกนำเป็นผลงานต่อไป